คลัตช์แม่เหล็กจะควบคุมการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเครื่องปรับอากาศของรถยนต์ เมื่อเปิดระบบปรับอากาศรถยนต์ภายในห้องโดยสารจะเป็นการสั่งงานคลัตช์ระบบปรับอากาศ จากนั้นคอมเพรสเซอร์จะถูกสั่งให้อัดน้ำยาแอร์ผ่านวงจรการส่งผ่านความร้อน
คลัตช์แม่เหล็กจะใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบคงที่เท่านั้น
สำหรับคอมเพรสเซอร์แบบปรับได้ จะใช้พูลเลย์ DL (แดมเปอร์และลิมิตเตอร์) แต่ DN จะไม่ขายอุปกรณ์นี้แยกต่างหากสำหรับแบรนด์ COOL GEAR
คลัตช์แม่เหล็กประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน 3 ส่วน ได้แก่: สเตเตอร์ โรเตอร์ และดุม (ชิ้นส่วนตรงกลาง) โดยจะมีขดลวดด้านในที่สร้างกำลังแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อดึงดุม (ชิ้นส่วนตรงกลาง) เข้าหาโรเตอร์ โรเตอร์ประกอบขึ้นจากแบริ่งและพูลเลย์ ชิ้นส่วนนี้จะหมุนตลอดเวลาในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่
สายพานจากพูลเลย์เพลาข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์จะเป็นตัวส่งแรงขับเคลื่อนไปยังดุม (ชิ้นส่วนตรงกลาง) ดุม (ชิ้นส่วนตรงกลาง) ประกอบขึ้นจากแผ่นคลัตช์และจุดต่อเพลาคอมเพรสเซอร์
คลัตช์จะส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังระบบปรับอากาศ
ถ้าอุณหภูมิภายในรถถึงระดับที่ตั้งไว้ หรือถ้าอุณหภูมิภายในรถสูงเกินไป คลัตช์แม่เหล็กจะหยุดทำงานหรือสั่งงานคอมเพรสเซอร์ตามความจำเป็น ขณะที่คลัตช์เปิดปิด สายพานจะหมุนโรเตอร์แต่ไม่มีการส่งพลังงานไปยังคอมเพรสเซอร์เนื่องจากดุมไม่ได้เชื่อมต่ออยู่
・ สนามแม่เหล็กจะเกิดขึ้นรอบเส้นลวดที่มีไฟฟ้าไหลผ่านโดยมีวงกลมร่วมศูนย์กลางในขดลวดสเตอเตอร์
・ ลักษณะนี้จะทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นที่ศูนย์กลางของขดลวดตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และทำให้กระแสไหลผ่านขดลวดโซลินอยด์ที่ทำจากเส้นลวดที่ขดม้วนเป็นวง
・ จำนวนรอบการพันเส้นลวดมีผลต่อสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ขดลวดโซลินอยด์
・ เมื่อพันลวดมากขึ้น จำนวนของขั้วแม่เหล็กก็จะเพิ่มมากขึ้น (แรงแม่เหล็กไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน)
คอมเพรสเซอร์ COOL GEAR เพื่อการใช้งานกับ DENSO (เช่น 10PA, 10S) จะจำหน่ายโดยไม่รวมคลัตช์
โปรดดูที่แคตตาล็อกหม้อน้ำและระบบปรับอากาศในรถยนต์ COOL GEAR เพื่ออ้างอิงข้ามไปหาคลัตช์แม่เหล็กที่ใช้คู่กัน